วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สื่อการเรียนการสอน






คําราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ รวมคำราชาศัพท์ที่ควรรู้






           รวมคําราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ ทั้ง คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย คําราชาศัพท์หมวดอาหาร คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ คําราชาศัพท์หมวดกริยา ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง ตามไปดู คำราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ กันเลย



           สำหรับใครที่เคยดูรายการข่าวพระราชสำนักหรืออ่านนวนิยาย ซึ่งประกอบด้วยตัวละครที่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรรวมถึงเชื้อพระวงศ์ตามลำดับขั้นทั้งหลาย แต่บางครั้งยังรู้สึกสับสนเมื่อพบกับคำราชาศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะคำศัพท์บางคำที่มีตัวสะกดคล้ายคลึงกัน หรือออกเสียงใกล้เคียงกัน และเพื่อเป็นตัวช่วยให้ทุกคนได้รู้จักกับคำราชาศัพท์ที่อาจพบเจอได้บ่อยครั้ง วันนี้เราจึงนำคำราชาศัพท์หมวดต่าง ๆ มาฝากกันค่ะ 


           ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเราจึงจัดเรียงคำราชาศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ โดยมีทั้งคําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย คําราชาศัพท์หมวดอาหาร คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ คําราชาศัพท์หมวดกริยา 100 คํา ซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์มากมาย เช่น

คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้


 พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง

 พระเขนย หมายถึง หมอน

 พระทวาร หมายถึง ประตู

 พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง

 พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง คนโทน้ำ

 ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน

 ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม

 ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ

 แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ

 พระสาง หมายถึง หวี

 พระแสงกรรบิด หมายถึง มีดโกน

 ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว

 ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า

 ผ้าพันพระศอ หมายถึง ผ้าพันคอ

 พระภูษา หมายถึง ผ้านุ่ง

 นาฬิกาข้อพระหัตถ์ หมายถึง นาฬิกาข้อมือ

 พระฉาย หมายถึง กระจกส่อง

 ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า

 พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน

 พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง

 โต๊ะทรงพระอักษร หมายถึง โต๊ะเขียนหนังสือ

 พระราชหัตถเลขา หมายถึง จดหมาย

 ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา




คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย

 พระอุระหรือพระทรวง หมายถึง อก

 พระหทัยหรือพระกมล หมายถึง หัวใจ

 พระอุทร หมายถึง ท้อง

 พระนาภี หมายถึง สะดือ

 พระกฤษฎีหรือบั้นพระองค์  หมายถึง สะเอว

 พระปรัศว์ หมายถึง สีข้าง

 พระผาสุกะ หมายถึง ซี่โครง

 พระเศียร หมายถึง  ศีรษะ

 พระนลาฏ หมายถึง หน้าผาก

 พระขนงหรือพระภมู หมายถึง คิ้ว

 พระเนตรหรือพระจักษุ หมายถึง ดวงตา

 พระนาสิกหรือพระนาสา หมายถึง จมูก

 พระปราง หมายถึง แก้ม

 พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก  ริมฝีปาก

 ต้นพระหนุ หมายถึง ขากรรไกร

 พระกรรณ หมายถึง หูหรือใบหู

 พระพักตร์ หมายถึง ดวงหน้า

 พระศอ หมายถึง คอ

 พระรากขวัญ หมายถึง ไหปลาร้า

 พระอังสกุฏ หมายถึง จะงอยบ่า

 พระกร หมายถึง แขน

 พระกัประหรือพระกะโประ หมายถึง ข้อศอก



คําราชาศัพท์หมวดอาหาร

 เครื่องเสวย หมายถึง ของกิน

 เครื่องคาว หมายถึง ของคาว

 เครื่องเคียง หมายถึง ของเคียง

 เครื่องว่าง หมายถึง ของว่าง

 เครื่องหวาน หมายถึง ของหวาน

 พระกระยาหาร หมายถึง ข้าว

 พระกระยาต้ม หมายถึง ข้าวต้ม

 ขนมเส้น หมายถึง ขนมจีน

 ผักรู้นอน หมายถึง ผักกระเฉด


มวดเครือญาติ

 พระอัยกา หมายถึง ปู่หรือตา

 พระอัยยิกา หมายถึง ย่าหรือยาย

 พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวดหรือตาทวด

 พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวดหรือยายทวด

 พระชนกหรือพระราชบิดา หมายถึง พ่อ

 พระชนนีหรือพระราชมารดา หมายถึง แม่

 พระสสุระ หมายถึง พ่อสามี

 พระสัสสุ หมายถึง แม่สามี

 พระปิตุลา หมายถึง ลุงหรืออาชาย

 พระปิตุจฉา หมายถึง ป้าหรืออาหญิง

 พระมาตุลา หมายถึง ลุงหรือน้าชาย

 พระมาตุจฉา หมายถึง ป้าหรือน้าหญิง

 พระสวามีหรือพระภัสดา หมายถึง สามี

 พระมเหสีหรือพระชายา หมายถึง ภรรยา

 พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย

 พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว

 พระอนุชา หมายถึง น้องชาย

 พระขนิษฐา หมายถึง น้องสาว

 พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ หมายถึง ลูกชาย

 พระราชธิดา,  พระเจ้าลูกเธอ หมายถึง ลูกสาว

 พระชามาดา หมายถึง ลูกเขย

 พระสุณิสา หมายถึง ลูกสะใภ้

 พระราชนัดดา หมายถึง หลานชายหรือหลานสาว

 พระภาคิไนย หมายถึง หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว

คําราชาศัพท์หมวดกริยา

 พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด

 ตรัส หมายถึง พูดด้วย

 เสด็จพระราชดำเนิน หมายถึง เดินทางไปที่ไกล ๆ

 เสด็จลง… หมายถึง เดินทางไปที่ใกล้ ๆ

 ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ

 ทรงพระกาสะ หมายถึง ไอ

 ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ

 ทรงพระปรมาภิไธย หมายถึง ลงลายมือชื่อ

 ทรงสัมผัสมือ หมายถึง จับมือ

 ทรงพระเกษมสำราญ หมายถึง สุขสบาย

 ทรงพระปินาสะ หมายถึง จาม

 พระราชโองการ หมายถึง คำสั่ง

 พระราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอน

 พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทาย

 มีพระราชประสงค์ หมายถึง อยากได้

 สรงพระพักตร์ หมายถึง ล้างหน้า

 ชำระพระหัตถ์ หมายถึง ล้างมือ

 พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทายปราศรัย

 เสด็จประพาส หมายถึง ไปเที่ยว

 พระราชปุจฉา หมายถึง ถาม

 ถวายบังคม หมายถึง ไหว้



            ทั้งนี้ สำหรับคำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า "บรม" นำหน้าคำว่า "ราช" เสม
               





           

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น